วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้วิชาการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตอนที่ 2)

ในตอนที่สองนี้คงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระของการเรียนรู้รายวิชานี้
...มันเป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะกระตุ้นให้นักศึกษา...เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนำกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ มาใช้ในชีวิตประจำวันได้....
...ยิ่งเป็นนักศึกษาในระดับการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ใหญ่...ซึ่งหลายท่านได้มีประสบการณ์ชีวิตที่อาจบอกได้ว่าดีกว่าผม ..... แม้กระทั่งการประสบความสำเร็จในชีวิตจริง ๆ...ก็ดีกว่าผมหลายเท่าตัว...

...พอได้เข้ารับการอบรมจาก ดร.จันทร์ชัย หญิงประยูร ที่โรงแรมแมกซ์ ที่กทม. จากสถาบันแล้ว
...เริ่มจับทางได้...
...น่าจะกระตุ้นความรู้...ที่นักศึกษามีอยู่แล้ว...แล้วเอาชีวิตประจำวันของเขาเป็นตัวตั้ง.....แล้วใส่ความคิดแบบวิทยาศาสตร์ให้กับตัวนักศึกษา ....ให้เขาได้ใช้ประสบการณ์ชีวิตที่มีอยู่มาใช้...ส่วนนักศึกษาที่ยังอายุน้อยอยู่ก็ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้...เพื่อให้เกิดแนวคิดการใช้ชีวิตประจำวันโดยการนำเรื่องวิทยาศาสตร์มาอยู่ในความคิด....
เริ่มกระบวนการเรียน
ก่อนอื่นเราต้องให้ความหมายของคำว่า "การสร้างความตระหนัก" และ "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ให้นักศึกษาได้เข้าใจเสียก่อนว่ามันเป็นอย่างไร

ความหมาย
ความตระหนัก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Awareness" ใช่หรือไม่

การสร้างความตระหนักด้านกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความหมายไว้ว่า "การดำเนินการเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนมีกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ และตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในยุคปัจจุบัน และผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่วนสื่อที่สร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ โทรทัศน์ สื่อInternet หนังสือพิมพ์ นิทรรศการแหล่งเรียนรู้ นิตยสาร และ วิทยุ"

อ้างอิงจาก (http://164.115.5.118/portal/index.php/organization-news/1429-2010-01-28-08-36-36.html)

นอกจากนี้หากเราได้ทราบทิศทางของชาติ ในการนำพาประเทศเข้าไปเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไร เราจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศไปมากน้อยเพียงใด เราจะใช้วิทยาศาสตร์ช่วยชาติอย่างไร ลองเข้าไปอ่านยุทธศาสตร์ชาติ - ทิศทางของไทยในการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดูข่าวจากLink นี้ http://www.ryt9.com/s/prg/63468


วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้วิชาการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตอนก่อนตอนที่ 1)


นักสึกษาได้อ่านแล้วก็ท่าจะงง.... ไม่รู้เหมือนกัน เพราะเป็นตอนที่ก่อนจะเป็นรายวิชาการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ฯ ผมก็เลยตั้งชื่อว่าเป็น "ตอนก่อนตอนที่ 1" ให้มันดูเท่ห์ ๆ

ก็เพราะตอนนี้เป็นตอนก่อนจะเป็นตอนที่ 1 คราวที่แล้วจริง ๆ หันกลับไปดูที่รูป ก็ชัดเจนละว่าเป็นตอนก่อนตอนที่ 1 จริง ๆ มีเนื้อหาครบทุกรายวิชาเลย แต่เน้น เฉพาะที่เป็นคนจัดกระบวนการเรียนรู้เท่านั้น ส่วนรายวิชาอื่นก็อาจมีแค่วัตถุประสงค์รายวิชา และที่เกี่ยวข้องเล็กน้อย

อันนี้จะไม่กล่าวถึงรายวิชาอื่นละนะ นักศึกษาจะต้องบูรณาการเอาเองนะ เพราะถ้าให้ผมวิเคราะห์ดูแล้วในสาขาการจัดการสุขภาพชุมชน นักศึกษาก็น่าจะเอาวิชาการจัดการระบบสุขภาพเป็นแกนหลัก แล้วเอาวิชาอื่นบูรณาการเข้าไปด้วย

อารัมภบท รายวิชา การสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (GE4010) ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มีรายละเอียดของรายวิชาดังนี้

GE4010 การสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มโอกาสแก่ตนเองและชุมชน ให้มีความรู้ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในระดับชุมชน

วัตถุประสงค์

1. นศ. ได้ตระหนักและเข้าใจ ความหมาย แนวทางของการจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชนรูปแบบต่าง ๆ

2. นศ.ทุกสาขาวิชาสามารถเรียนร่วมกัน เกิดความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของวิทยาศษสตร์และเทคโนโลยี

3. นศ.เรียนรู้การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทักณะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถด้านการจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชนของประเทศ

4. นศ.เรียนรู้บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตอบสนองปัญหาของบุคคล ชุมชน และสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์

กิจกรรมรายวิชา

1. บรรยายโดยกรณีศึกษา อภิปรายกลุ่ม การตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. สืบหาแหล่งข้อมูลภายในชุมชน เกี่ยกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. ทัศนศึกษานอกสถานที่และจัดทำรายงาน

4. งานเดี่ยว และกลุ่ม จากการศึกษาประเด็นที่สนใจ จัดทำเป็นรายงาน/โครงงาน นำเสนอในชั้นเรียน

เนื้อหา

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนา

1.1 ความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาในแต่ละระดับ

ความหมายความตระหนัก

ความหมาย

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อชุมชน

ความหมายของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ

ความหมายของวิทยาศาสตร์

ความหมายของวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ

ความหมายของเทคโนโลยี

1.2 สภาพการในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ

ขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทย

Profile ของประเทศ

ทิศทางการพัฒนาประเทศ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1.3 ความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์เละเทคโนโลยีต่อการพัฒนาในแต่ละระดับ (ตนเอง ชุมชน อุตสาหกรรม และประเทศ)

1.4 ตระหนักถึงการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม บนฐานความรู้ ความเข้าใจ จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน

1.5 ทักษะการคิด การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตัวอย่างเครื่องกรองน้ำฉุกเฉิน ม.มหานคร

ตัวอย่างโอทอป

เทคนิคการวัดและการประมาณค่า

การวัด

การประมาณค่า

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การประยุกต์ใช้ฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม

ตัวอย่างข้อมูลจากเว็บไซต์

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน

จริงหรือไม่ กับความเชื่อเหล่านี้ ? วิทยาศาสตร์ช่วยได้

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับพลังงานและภาวะโลกร้อน

2.1 เข้าใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแสวงหาพลังงานและการนำพลังงานไปใช้

2.2 เรียนรู้ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนักในการใช้พลังงาน

2.3 เรียนรู้สาเหตุและผลกระทบของภาวะโลกร้อนในด้านต่าง ๆ

2.4 ตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาการใช้พลังงานเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.1 วิกฤติของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.2 การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของโลก อันเป็นสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์

3.3 ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการป้องกันและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

3.4 การเรียนรู้จากตัวอย่างการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาแก้ไข ป้องกัน และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

4.1 ความเข้าใจและความสำคัญของบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร

4.2 ตระหนักถึงผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ต่อขีดความสามารถในการผลิตและส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทย

5. จัดทัศนศึกษานอกสถานที่ ให้นักศึกษาได้เป็นปัญหาที่แท้จริง เพื่อเกิดสำนึกในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และมีความรับผิดชอบสังคม (ไปศูนย์บริการสาธารณสุขตำบลสุเทพ บูรณาการร่วมกับรายวิชาระบบสุขภาพ)

6 จัดทำรายงาน/โครงงาน ฝึกคิดวิเคราะห์ และจัดทำรายงานโครงงาน

7. นำเสนอชิ้นงาน ประมวลเนื้อหาสาระ

7.1. ให้นักศึกษานำเสนอชิ้นงานตนเอง

7.2. ให้นักศึกษาประมวลเน้อหาสาระ จากประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหมด

.........นี่คือ ความรู้ที่นักศึกษาจะได้รับจากรายวิชานี้....................
...............นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถจุดประกายความคิดทางวิทยาศาสตร์ได้กับททางวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ ได้ คือ ดร.จันทร์ชัย หญิงประยูร ลองติดตามท่านได้ทาง
http://www.curric.net/center/science_forum.htm เว็บไซต์แบ่งปันสานฝัน ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรือ สร้างสื่อสนุกสำหรับเด็กเล็ก กับ ดร.จันทร์ชัย หญิงประยูร.
mail.vcharkarn.com/vcafe/138146

การเรียนรู้วิชาการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตอนที่ 1)

การเรียนรู้เข้าสู่เทอมที่ 2 ของมหาวิทยาลัยชีวิต.....จะเกิดอะไรขึ้น...ชีวิตต้องดำเนินต่อไป....เอาชีวิตตัวเองเป็นที่ตั้งทางการศึกษา...ทำอย่างไรจะเอาวิชาความรู้มาใช้กับชีวิตตนเองให้ดีขึ้น...อาจารย์...ครู...ช่วยเราได้ไหม...ถ้าเราไม่เอาวิชาความรู้ที่ได้รับ....จากครูบาอาจารย์...จากประสบการณ์ชีวิตของเพื่อน..พี่..น้อง...มาประยุกต์ใช้กับชีวิตเรา....แล้วแบบนี้ชีวิตเราจะดีขึ้นไหม...

"คำถามแบบนี้ ข้อสงสัยแบบนี้ วิทยาศาสตร์จะมาช่วยอะไรเราได้ล่ะ...เราจะเอาวิทยาศาสตร์มาช่วยอย่างไร"

นักศึกษาหลายคนน่าจะสงสัยแล้วก็มีคำถามขึ้นมาในใจ ....แบบนี้....

คำตอบคือ "ช่วยได้ครับ"

เราเรียนมาแล้ว...วิชาการวางเป้าหมายและแผนชีวิต...เมื่อเทอมที่แล้วเอามันขึ้นมาใช้ประโยชน์...เอาวิธีคิดแบบวิชากระบวนทัศน์พัฒนา...มาใช้...เอาวิชาภูมิปัญญา..(องค์ความรู้) ที่มีอยู่ทั่วไปทุกคนทุกแห่งในสังคม ชุมชนของเรา...เอาวิธีการคิดแบบเศรษฐกิจพอเพีียงมาประยุกต์.....เอาความรู้ภาษาไทยมาใช้เขียน....

ทำอย่างไรล่ะ....

วิทยาศาสตร์ช่วยท่านได้ คิดแบบวิทยาศาสตร์สิ สังเกตเห็นอะไรในชีวิตล่ะ...ชีวิตมีปัญหาอะไร...อยากพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นทำอย่างไร...ข้อสงสัย...เป็นปัญหาทางวิทยาศาสตร์แล้วล่ะนั่น...ใช้กระบวนกทางวิทยาศาสตร์มาใช้ได้เลย...
เราจะทำอย่างไรดีกับชีวิตนี้...ให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

สังเกต ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5...ทำไมเราเป็นอย่างนี้...มีปัญหาสุขภาพ...เพราะอะไร....
ทำไมเราไม่มีเงิน......มีปัญหาทางเศรษฐกิจ...เพราะอะไร
ทำไมเราฟุ้งซ่าน พูดก็ไม่เพราะ...ครอบครัวไม่มีความสุข.....เพราะอะไร
ทำไมทำอะไรไม่สำเร็จสักที....เพราะอะไร...เราโง่รึ...เราไม่มีความรู้รึ...เราไม่ทำตามสูตรรึ
ทำไมเราต้องซื้ออันนั้นอันนี้...จำเป็นหรือเปล่านี่


รวบรวมข้อมูล....มีหลายคนนี่แก้ปัญหาสุขภาพเหมือนที่เราเป็นด้วยวิธีการต่าง ๆ กันไป....เล้วเราจะเลือกวิธีใครนี่....มีหลายคนเมื่อก่อนก็จน...แล้วทำไมเดี๋ยวนี้เขามีความสุข มีเงิน ดำรงชีวิตมีความสุขได้...มีสังคมดี...มีครอบครัวอบอุ่น..ไม่มีหนี้สิน....มีเวลาไปช่วยสังคมเพื่อนบ้านได้...ไปไหนมาไหนมีแต่คนทักทาย....
เมื่อก่อนบรรพบุรุษเราดำเนินชีวิตอย่างไร เขามีอะไรมั่ง เขากินอะไรมั่ง....ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไรนี่....

สร้างสมมติฐาน จากข้อมูลที่ได้มารวบรวมคิดว่าวิธีการดำเนินชีวิตแบบไหนละจะทำให้เรามีความสุข มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ "เราต้องดำเนินชีวิตแบบนี้.........แล้วเราจะมีความสุข"

ออกแบบการดำเนินชีวิต.และทดลองทำ....สร้างแบบการทดลองดำเนินชีวิต
ลงมีอทดลองตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ ว่าดำเนินชีิวิตแบบนี้แล้วจะมีความสุข

สรุป

แล้วสรุปได้ไหมว่าดำเนินชีวิตแบบไหนทำให้เกิดความสุขทั้งตนเองและคนรอบข้าง

สรุปเป็นวิธีการที่ดีที่สุด...เป็นองค์ความรู้สำหรับเรา...นำไปเผยแพร่ให้เพื่อนได้......

อ้าวนี่ไง ทำแบบวิทยาศาสตร์........................จบแล้ว