วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไม่มีคำว่า "แก่"

วันนี้ผมได้รับ e-mail จากเพื่อนคนหนึ่งส่งบทความที่น่าสนใจมาให้อ่าน แล้วบังเอิญ ผมเองได้เป็นอาจารย์ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ในศูนย์ ของมหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มันสอดคล้องกับปรัชญาของสถาบันอย่างมาก มันเป็นอะไรที่น่าสนใจเลยทีเดียว ลองอ่านดูนะครับ
..................................
วันแรกที่พวกเราเริ่มการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น
อาจารย์ของเราได้เข้ามาแนะนำตัว
และบอกให้พวกเราทำความรู้จักกับคนอื่นๆ
ที่เราไม่รู้จักมาก่อน
ผมยืนขึ้นแล้วมองไปรอบๆ
และมีมือๆ หนึ่ง เอื้อมมาจับบ่าของผม
ผมหันไปพบกับหญิงชราร่างเล็ก ผิวหนังเหี่ยวย่น
ที่ส่งรอยยิ้มอันเป็นประกายมาให้ผม
รอยยิ้มนั้นทำให้เธอดูสดใสอย่างยิ่ง

หญิงชราคนนั้นกล่าวขึ้นว่า
“สวัสดี รูปหล่อ ฉันชื่อโรส
อายุแปดสิบเจ็ดแล้ว มาให้ฉันกอดสักทีสิ”

ผมหัวเราะกับท่าทางของเธอ
และตอบอย่างร่าเริงว่า
“แน่นอน ได้สิครับ ”
แล้วเธอก็กอดผมอย่างแรง
ผมถามเธอว่า
“ทำไมคุณถึงมาเรียนมหาวิทยาลัย
เอาตอนที่อายุน้อยและไร้เดียงสาอย่างนี้ละ.. ”

เธอตอบด้วยเสียงปนหัวเราะว่า
“ฉันมาหาสามีรวยๆ ที่ฉันจะได้แต่งงานด้วย
แล้วมีลูกสักสองสามคน... ”
ผมขัดจังหวะเธอ โดยถามว่า
“ไม่เอาครับ.. ถามจริงๆ ”
ผมสงสัยจริงๆ ว่า อะไรทำให้เธอมาเรียนที่นี่
ตอนที่อายุขนาดนี้ และเธอตอบว่า
“ฉันฝันมานานแล้ว ว่าฉันจะได้ปริญญา
และตอนนี้ ฉันก็กำลังจะได้ปริญญาที่ฉันฝัน”
หลังเลิกเรียนวิชานั้น
เราเดินไปที่อาคารสโมสรนักศึกษาด้วยกัน
และนั่งกินชอคโกแลตปั่นด้วยกัน
เรากลายเป็นเพื่อนกันในทันที
ตลอดสามเดือนหลังจากนั้น
เราจะออกจากชั้นเรียนพร้อมกัน
และจะไปนั่งคุยกันไม่หยุด
ผมนั้นประหลาดใจเสมอเมื่อได้ฟัง“ยานเวลา" ลำนี้
แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ของเธอให้กับผม

ตลอดปีนั้น โรสได้กลายเป็นสัญลักษณ์
ของมหาวิทยาลัยของเรา
และเธอนั้นจะเป็นเพื่อนได้กับทุกคน
ในทุกที่ที่เธอไป เธอรักที่จะแต่งตัวดีๆ
และดื่มด่ำอยู่กับความสนใจ
ที่นักศึกษาคนอื่นๆ มีให้กับเธอ
เธอได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่
เมื่อถึงตอนสิ้นสุดภาคการศึกษา
เราได้เชิญโรสให้มาพูดที่งานเลี้ยงของทีมฟุตบอลของเรา
ผมไม่เคยลืมเลยว่า เธอได้สอนอะไรให้กับเรา ...
พิธีกรแนะนำตัวเธอ และเธอก็เดินขึ้นมาที่แท่น

ตอนที่เธอกำลังเตรียมตัวที่จะพูดตามที่เธอตั้งใจนั้น
เธอทำการ์ดที่บันทึกเรื่องที่เธอจะพูดตกพื้น
เธอทั้งอาย ทั้งประหม่า
แต่เธอโน้มตัวเข้าหาไมโครโฟนแล้วบอกว่า
“ขอโทษด้วยนะ ที่ฉันซุ่มซ่าม
ฉันเลิกกินเบียร์มาตั้งนานแล้ว
แต่วิสกี้พวกนี้มันแรงจริงๆ...
ฉันคงจะเอาบทของฉันมาเรียงใหม่ไม่ทันแล้ว
งั้นฉันก็คงได้แค่บอกเรื่องที่ฉันรู้ให้กับพวกคุณก็แล้วกัน”

พวกเราทุกคนหัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง
ตอนที่เธอเริ่มต้นว่า
“พวกเราทุกคนนั้น ไม่ได้หยุดเล่นเพราะเราแก่หรอก
แต่เราแก่เพราะว่าเราหยุดเล่น
ที่จริงแล้วมีเคล็ดลับสู่การที่จะยังหนุ่มสาวอยู่เสมอ
มีความสุข และประสบความสำเร็จอยู่ 4 ประการ

1) พวกคุณจะต้องหัวเราะ และมีเรื่องสนุกๆ ขำขันทุกวัน

2) พวกคุณจะต้องมีความฝัน เมื่อไรก็ตามที่คุณสูญเสีย ความฝันของคุณไป คุณจะตาย มีคนมากมายที่ยังเดินไป เดินมาอยู่ทั้งๆ ที่ตายไปแล้วและไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตายไปแล้ว..

3) การที่คุณ “แก่ขึ้น” กับ “เติบโตขึ้น” นั้น
มันต่างกันมาก ถ้าคุณอายุสิบเก้า
แล้วนอนอยู่บนเตียงเฉยๆ ปีหนึ่ง
และไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ตลอดทั้งปี
คุณก็จะอายุยี่สิบ

ถ้าฉันอายุแปดสิบเจ็ด แล้วนอนเฉยๆ
ไม่ทำอะไรเลยตลอดทั้งปี ฉันก็จะอายุ
แปดสิบแปด ทุกๆ คนนั้นจะแก่ขึ้น ทั้งนั้น
ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถอะไรเลย
ประเด็นของการ เติบโตขึ้น นั้น
อยู่ที่การแสวงหาโอกาสในการเปลี่ยนแปลง

4) อย่าทิ้งอะไรไว้ให้เสียใจภายหลัง
คนสูงอายุส่วนใหญ่นั้น ไม่เสียใจกับสิ่งที่ได้ทำลงไปแล้ว
แต่มักจะเสียใจกับสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ คนที่กลัวความตายนั้น
มีแต่คนที่ยังมีสิ่งทีต้องเสียใจค้างอยู่ "

เธอจบการพูดของ เธอด้วยการร้องเพลง “The Rose” อย่างกล้าหาญ และเธอได้แนะให้พวกเราทุกคนศึกษาเนื้อร้องของเพลงนั้นและเอาความหมายเหล่านั้นมา ใช้กับชีวิตประจำวันของพวกเรา

เมื่อสิ้นปีการศึกษานั้น โรสได้รับปริญญาที่เธอได้เริ่มฝันไว้เมื่อนานมาแล้ว

หนึ่งสัปดาห์หลังจบการศึกษา โรสจากไปอย่างสงบ
เธอนอนหลับไปและไม่ตื่นขึ้นอีกเลย

นักศึกษากว่าสองพันคนไปร่วมพิธีศพของเธอ เพื่อแสดงความเคารพ ต่อหญิงชราผู้วิเศษ ผู้ได้สอนให้พวกเขาได้รู้ ด้วยการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า.......

ไม่มีคำว่าสายเกินไป ที่จะเป็นทุกสิ่งที่คุณสามารถเป็นได้

เมื่อคุณอ่านเรื่องนี้จบลง กรุณาส่ง คำแนะนำอันดีเยี่ยมนี้ต่อให้กับเพื่อนและครอบครัวของคุณ พวกเขาคงจะชอบมัน

เรื่องราวเหล่านี้ส่งต่อกันมาเพื่อระลึกถึงหญิงชราที่ชื่อ โรส
จงจำไว้ว่า

"การแก่ขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่การเติบโตขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เราเลือกได้
เราอยู่ได้ด้วยสิ่งที่เราได้รับ แต่เราจะมีชีวิตอยู่เพราะสิ่งที่เราให้ไป"
.............................................

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ค้นหารากเหง้า ว่าด้วยเรื่องศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่


ในช่วงภาคฤดูร้อนที่ผ่านมาได้มีโอกาสเป็นวิทยากรจัดกระบวนการเรียนรู้ วิชาการวางเป้าหมายและแผนชีวิต ในโครงการอบรมสัมฤทธิบัตร ของมหาวิทยาลัยชีวิตศูนย์การเรียนรู้เพื่อปวงชน ไม่น่าเชื่อว่าวิชานี้จะช่วยสอนให้ คนเราสามารถนำกระบวนการในเชิงการบริหารจัดการระดับองค์กรใหญ่ ย่อส่วนมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างน่าทึ่ง นักศึกษาหลายคนที่ในช่วงแรกๆ ของการเรียนไม่ได้สนใจ เข้าอบรมไปวัน ๆ เท่านั้น สั่งให้ทำรายงานก็ให้ทำ พอภายหลังจากการจัดทำรายงานวิเคราะห์เล่มฉบับสมบูรณ์ หลายคนบอกว่าจะนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น หลายคนบอกว่า ไม่เคยรู้วิธีการไปสู่เป้าหมายตนเองได้อย่างไร หลายคน บอกเพียงแค่อยากเรียนจบมหาวิทยาลััยเท่านั้น แต่ภายหลังจากได้เรียนรู้กระบวนวิชานี้แล้ว ทำอะไรเป็นเยอะขึ้น รู้จักจัดการชีวิตตนเองให้มีความสุขได้มากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ก็ดีใจกับนักศึกษาด้วยที่ได้นำความรู้ไปใช้ แต่สิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือการจัดกระบวนการเรียนรู้หรอก แต่ก็มีที่มาที่ไปจากการได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในวิชานี้ นั่นคือ "ศาลพระภูมิ" และ "ศาลเจ้าที่"
ความรู้เกี่ยวการสร้างศาลพระภูมิ หรือ ศาลเจ้าที่ ลองอ่่านในเว็บบล็อกลุงแว่นนะครับ (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skit&month=04-08-2008&group=2&gblog=19) ได้ความรู้พอสมควรในเรื่องการสร้างศาลพระภูมิ หรือ ศาลเจ้าที่ แต่ที่ผมเขียนนี้ มิได้ว่าผู้ใดผิดผู้ใดถูก แต่เขียนในเชิงของการพิจารณาจากรากเหง้าความคิดของคนสมัยก่อนที่มีเรื่องศาลพระภูมิ เจ้าที่ ทั้ง ๆ ที่ประเทศเราเป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ เป็นส่วนใหญ่ เป็นศาสนาที่เป็นเป็นอเทวนิยม
เมื่อศึกษาในเรื่องการนับถือเกี่ยวกับผี จากการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่่า "ผี" ในเชิงมนุษยวิทยาถือว่าผีเป็นความหมายในเชิงของกฎ ระเบียบ จารีตประเพณี วิถีปฏิบัติของชุมชน สังคม ซึ่งมิได้มีความหมายในเชิงของวิญญาณเลย ดังที่เราจะเห็นได้จากคำว่า "ผิดผี" ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติที่ละเมิด กฎ ระเบียบ จารีตประเพณี ซึ่งเมื่อเรามองย้อนกลับไปยังวิธีคิดดั้งเดิมของคนไทย ที่ยังมิได้มีส่วนสัมพันธ์กับการนับถื่อในศาสนาพราหมณ์ เราจะพบว่าเป็น วิถีคิดแบบดั้งเดิมของคนไทยให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามระเบียบในสังคม
สำหรับในเรื่อง "ที่" ก็เช่นเดียวกัน ก็คงเกี่ยวข้องกับ "เจ้าที่" ดิน น้ำ ลม แดด และธรรมชาติ ล้วนเกี่่ยวข้องอยู่ด้วยกันอย่างสมดุล จึงจะถือได้ลงตัวอยู่ด้วยกันได้ แต่หากไม่เกิดความสมดุลย่อมอยู่ด้วยกันไม่ได้ ดังเช่นที่เราได้เห็นได้ทราบจากข่าวในปัจจุบันนี้เช่นกัน มนุษย์ได้ทำลายความสมดุลของสรรพสิ่ง จึงทำให้เกิดเหตุ ภัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นการปรับสมดุลของสรรพสิ่งที่อยู่ร่วมกัน ดังนั้นจากฐานความคิดของคนในสมัยโบราณ กรณีการสร้างบ้านเรือน สร้างสถานที่ใด ๆ จึงมักมีการปรึกษาหารือ กับปราชญ์ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้มีญาณเล็งเห็นความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งรอบตัว ให้ช่่วยตรวจดูความเหมาะสม ซึ่งหากคิดในเชิงเหตุผลในปัจจุบันคือ เป็นสถานที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ต่อการอาจเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังเราจะเห็นในเรื่องของข้อห้ามต่าง ๆ ของศาสตร์ ทั้งไทย จีน (ฮวงจุ้ย) ดังนั้นการเลือกที่ที่มีชัยภูมิ หรือที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างบ้านเรื่อนที่อยู่อาศัย จึงเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ การเลือกสถานที่ที่ไม่ผิดที่ผิดทาง ย่อมทำให้คนที่อยู่อาศัยมีความสุขได้
ดังนั้นในแต่ละที่ แต่ละชัยภูมิ จึงมักมีเจ้าที่ หรือพระภูมิคอยปกปักรักษา ในลักษณะความเชื่อว่าจะทำให้คนที่อยู่อาศัยในสถานที่เหล่านั้นมีความสุข คนโบราณจึงมักอยู่ในสถานที่แต่ละแห่งด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพในสถานที่
จากฐานความคิดของคนโบราณจึงทำให้เห็นได้ว่า ความเชื่่อเหล่านี้มีที่มาที่ไป มิได้งมงายอย่างที่คิด
ดังนั้นหากเรามีความเข้าใจ เคารพในสถานที่ที่ตนเองอาศััยอยู่ ทำงานอยู่ มีการสร้างศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ เป็นที่ยึดเหนี่ยวย่อมทำให้ผู้อยู่อาศััยมีความสุขในการได้อยู่อาศัย
อ้างอิง : รูปภาพจาก http://xn--42c5cgeicjx9eqhbw2e.blogspot.com/2011_04_01_archive.html
เอกสารประกอบการเรียนวิชาการวางเป้าหมายและแผนชีวิต โครงการอบรมสัมฤทธิบัตร มหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มกราคม 2554