วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาของการเป็นวิทยากร งานกิจกรรมชุมชน

จากหัวข้อทีผ่านมา "การสร้างศักยภาพชุมชน" เราในฐานที่เป็นทีมงานวิทยากร ก็ต้องขอเล่าเรื่อง ของการเตรียมการเพื่อเป็นวิทยากรงานนี้ ซึ่งเราได้รับงานด่วนมาก ทุกคนไม่ได้ประสานงานกันเลย เพียงแต่ได้รับหัวข้อจากผู้บริหาร ให้หากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาให้กับชุมชน ผมก็ไม่ได้รู้จักทีมงานที่ทางฝ่ายบริหารรวบรวมมาเลย เพราะต่างฝ่ายต่างมา แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจว่าเขามากันยังไงบ้าง ผมเองมางานนี้ในฐานะของอาจารย์ที่สอนมหาวิทยาลัยชีวิต ซึ่งทาง ผอ. ศูนย์สุเทพ ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากนัก ก็เจอกันวันก่อนวันงานวันเดียว ก็ได้ยินทางหัวหน้าทีมงาน (ได้ยินทางฝ่ายจัดงานเรียก อาจารย์ลพ) ผมก็ไม่รู้ว่าท่านจะทำอะไร ก็ได้แต่แจกหัวข้อมาให้เท่านั้น พร้อมทีมงานอีก 1 คน ซึ่งเป็นน้องจากบัณฑิตวิทยาลััย ก็ไม่ได้เตรียมการอะไรกันเลย ก็เป็นหน้าที่เราที่เป็นหัวหน้าทีมต้องหาเกมส์ สำหรับการละเล่น ในฐานะวิทยากร และหัวหน้าฐาน

ในวันถัดมาหลังจากประชุมทีมงานแล้วเราก็เริ่มหาเกมส์ ก็ดีนะที่ไม่เอาเกมส์จากที่ทางทีมงานลูกน้องในที่ทำงานหามาให้ เพราะมาเห็นวันที่เขาใช้งานกัน เป็นงานที่พวกลูกน้องเราเตรียมไว้ให้หมดเลย ไม่ว่าจะเป็นเกมส์นำแย้ลงรู เกมส์ปิดตานำทาง ไม่รู้จะทำอะไร ดี เอาละ ก็คิดเองละกัน ว่าทำยังไง เกมส์สำหรับกลุ่มสัมพันธ์ ตอนแรกกะว่าเอากล่องกระดาษก่อให้ได้สูงสุด แต่เกรงว่าจะหาอุปกรณ์ยาก และเยอะไป ก็เลยแว๊บไปเห็นแก้วน้ำ พลาสติก แก้วกาแฟ บ้าง ก็เลยมีไอเดียว่าเอาแก้วนี่แหละว่าะ ให้เขาต่อให้สูง ผ่านอุปสรรคต่าง ๆ หากได้พัดลมเป่าด้วยยิ่งดี ก็ให้น้องทีมงานที่เป็นผู้ช่วยหาแก้วขนาดต่าง ๆ กัน จำนวน 30 ใบ ไว้ให้กลุ่มสัมพันธ์เล่นเกมส์ต่อแก้วให้ได้สูงสุด ก็พบว่า ต้องใช้อุปกรณ์เสริม เพราะว่าเขาดันจัดฐานให้อยู่กลางสนามในวันเล่นเกมส์ ก็เลยมีแผ่นกระดาษให้ อีก 1 แผ่น แต่ก็เป็นไปโดยบังเอิญ เพราะว่า ยกหีบน้ำไปเป็นอุปกรณ์เสริม ก็พบว่า มีกระดาษแข็งอยู่แผ่นหนึ่ง จึงเอาให้ผู้เล่นได้เป็นอุปกรณ์เสริม

จากผลการนำเกมส์นี้ให้กับทางกลุ่มเล่น เราพบว่า ทำให้ได้อะไรหลายอย่างที่ชุมชนต้องมีข้อคิดมากมายหลายอย่าง ทั้งเรื่องการวางแผน การแสดงความเห็น การช่วยกันตามความสามารถ หากขาดการประสานงานหรือการวางแผนที่ดี ภายในเวลาที่กำหนด คือ 15 นาที ซึ่งก็มีข้อคอมเม้นท์จากการสังเกตการเล่นเกมส์ ของแต่ละกลุ่มดังนี้
1. กลุ่มที่ 8 คือกลุ่มที่อยู่ฐานเราเป็นฐานแรก มีพฤติกรรมดังนี้ ขาดการร่วมไม้ร่วมมือ ให้เฉพาะผู้นำกลุ่มดำเนินการอย่างเดียว ทำให้ต่อได้สูงสุดเพียง 105 ซม. เท่านั้น
2. กลุ่มถัดมาคือ กลุ่ม 7 กลุ่มนี้มีความสามัคคีกันดีมาก มีส่วนร่วมทุกคน แต่มีปัญหาด้านการนำและการวางแผนที่มุ่งเน้นแผนเดิม ไม่มีทางเลือก ทำได้ 123 ซม.
3. กลุ่ม 6 เป็นกลุ่มที่มีหลากหลายมาก บางคนก็ไม่มีส่วนร่่วม แต่คนที่มีส่วนร่วมค่อนข้างแข็งขัน ให้ความเห็นทำงานร่วมกันหลากหลาย มีแนวทางไปสู่เป้าหมายได้หลายวิธี ไมสนใจว่าจะเป็นวิธีไหน ขอให้ไปสู่เป้าหมายอย่างเดีียว และก็ทำได้สูงสุด 175 ซม.
4. กลุ่ม 5 เป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วม แต่มีข้อเสียกิจกรรมกลุ่มที่กูลากไป มึงลากมา ไม่ไปข้างหน้า ขาดการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว ทำให้ใช้เวลาไปมาก เลยได้เพียง 97 ซม.
5. กลุ่ม 4 เป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมกันค่อนข้างดี ก็คล้าย ๆ กับกลุ่ม 7 ทำได้117 ซม.
6. กลุ่ม 3 เป็นกลุ่มที่ต้องชมเชยที่มีภาวะการนำของผู้นำดี สามารถนำคนในกลุ่มเข้าร่วมงานได้ทุกคน ทำความสูงได้ 150 ซม.
7. กลุ่ม 2 เป็นกลุ่มที่มีการมีส่วนร่วมของกลุ่มทุกคนสูงมาก แต่มัวแต่เถียงกัน ความคิดไม่ตกผลึก คล้ายกับกลุ่ม 4 แต่ทำงานได้ดี ก็ทำได้แค่ 118 ซม.
8. กลุ่มสุดท้าย กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มที่มีทีมบางส่วนขาดการมีส่วนร่วมสิ้นเชิง แต่ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วม ลักษณะคล้าย ๆ กลุ่มที่ 8 ทำได้ 137 ซม.

ข้อคิดจากการทำฐานครั้งนี้สรุปได้ "การนำต้องดี การแก้ปัญหาต้องมีหลายทางเลือก การทำงานต้องมีส่วนร่วม เดินไปสู่เป้าหมาย ควบคุมเวลาและการทำงานให้ทันด้วย" แล้วจะประสบผลสำเร็จในที่สุุด

อันนั้นเป็นเรื่องเล่าจากฐานผมเอง ต้องขอขอบคุณน้องทีมงานจากบัณฑิตวิทยาลัย น้องอะไร...จำไม่ได้

ทีนี้มามุมมองจากการจัดฐานของท่านอาจารย์ลพ เราพบว่า ท่านคิดได้ดีมากในเชิงวิชาการ
1. การบริหารท้องถิ่นกับการประสานงาน จุดประสงค์ ให้ชุมชนได้รู้ว่าองค์กรท้องถิ่นทำงานกันอย่างไร
2. ทำงานอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ ก็เน้นการทำงานกลุ่มให้สำเร็จ
3. การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ก็เน้นการมีส่วนร่วมของทีมงาน
4. การสร้างความสามัคคีในชุมชน ฐานนี้เน้นเลยคือความสามัคคีสู่ความสำเร็จ
5. ฐานการติดต่อสื่อสาร ก็เน้นเรื่องการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในทีม
6. ฐานบทบาทผู้นำ ผู้ตาม ก็เน้นในเรื่องบทบาทของแต่ละคนในทีม
7. การสร้างความพร้อมของชุมชน อันนี้ก็เน้นเรื่องความพร้อมเพรียง
8. ปัญหาและการแก้ปัญหา ก็เป็นฐานรวบยอดที่นำเอาเรื่องจาก 1-7 มาไว้ฐานนี้

จะเห็นว่ามุมมองจากนักกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ สามารถมองประเด็นของกลุ่มสัมพันธ์นำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพชุมชนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งนำเอาวิชาการที่อยู่ในตำรามาจำลองสู่ระบบฐานในการปฏิบัติได้อย้่างเป็นรูปธรรม น่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง
บอกตรง ๆ ว่ากว่าผมจะเข้าใจความคิด อาจารย์ลพ ในการจัดฐานเหล่านี้ก็เอาตอนที่จัดงานฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว นี่ก็เป็นข้อเสียของการสื่อสาร ซึ่งทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพในความต่อเนื่องของเกมส์ ที่เล่นตามฐานของทีมงานวิทยากร แต่เมื่อทำกันได้เท่านี้ผมก็โอเคนะครับ

แต่สิ่งหนึ่งที่อยากฝากให้นักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิตและผู้ที่สนใจ ลองคิดตามในเรื่องทั้งกระบวนการตั้งแต่การพามวลชนออกจากเทศบาล ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองเขา ซึ่งเมื่องทางฝ่ายบริหารเทศบาลมอบหมายให้ นักศึกษาเราช่่วยงาน ก็ทำให้ได้เรียนรู้จากการทำงานร่วมกับชุมชนได้อย่างดีทีเดียว และอีกอย่างกระบวนการเรียนรู้ในสาขาของเรา คือ สาขาสุขภาพชุมชน นักศึกษาที่เข้าร่วมงานนี้เข้าใจว่าได้ประสบการณ์ที่จะทำให้การปฏิบัติกิจกรรมในการเรียนการสอนต่อไปในหลักสูตร มหาวิทยาลัยชีวิต น่าจะไปได้ดีทีเดียว ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมลองถามเพื่อน ๆ ดูนะครับ น่าสนใจทีเดียว

ก็ขอถอดองค์ความรู้แบบสั้น ๆ จากการทำงานในครั้งนี้ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ว่าด้วยค่าย การสร้างศักยภาพชุมชน

ว่าด้วย การสร้างศักยภาพชุมชน
วันที่ 18-19 กันยายน 2553 ผมมีโอกาสได้เป็นวิทยากรร่วม ในการจัดค่ายการสร้างศักยภาพของชุมชน ของเทศบาลตำบลสุเทพ ในนามของมหาวิทยาลัยชีวิต ศูนย์สุเทพ นับเป็นประสบการณ์หนึ่งที่เราได้นำนักศึกษาของเราเข้าสู่การทำงานร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องภายใต้การนำของ ผอ.ศุภลักษณ์ ล้อมลาย ดีใจที่เห็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่าง เทศบาลตำบลสุเทพ ไว้วางใจให้นักศึกษาเราทั้งเป็นวิทยากรพี่เลี้ยง วิทยากรผู้ช่วย และอาจารย์บางส่่วนเข้าเป็นวิทยากร ว่าไปแล้วการนำนักศึกษาเข้าร่วมในลักษณะนี้ ได้ประสบการณ์มากกว่่าการนั่งเรียนในห้องเรียนที่ฟังแต่อาจารย์เล่าให้ฟังเท่านั้น เราเห็นนักศึกษาเรากระตือรือร้น ในการทำงาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมบอกนักศึกษาไป คือ การจบจากค่ายแล้ว ทุกคนต้องถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมดำเนินการครั้งนี้
สิ่งหนึ่งที่ทางฝ่ายบริหารเทศบาลตำบลสุเทพ เห็นศักยภาพของนักศึกษาของเรา เท่าที่ได้สอบถามจากผู้บริหาร พบว่า ประทับใจการทำงานของนักศึกษาชุดนี้ จากการเข้าร่วมทำงานชุมชน ในการนำเสนอโครงการเกี่ยวกับสุขภาพ ต่อ สปสช. และ สสส. ในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งของเด็ก และคนในชุมชน ซึ่งสามารถทำงานผ่านไปได้ด้วยดี จึงได้ให้ความไว้วางใจทีมงานของนักศึกษาเข้าดำเนินกิจกรรม
สำหรับวันนี้คงเล่าเท่านี้ก่อน เดี๋ยวจะกลับมาว่ากันต่ออีกทีหนึ่ง ภายหลังจากหารือกับทาง ผอ. ศูนย์ก่อน ว่่าจะถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมครั้งนี้ก่อน แล้วจะจัดทำเป็นองค์ความรู้ให้กับศูนย์ แล้วค่อยเล่าว่า ในแนวทางการดำเนินการนักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิต แล้วเขาได้อะไรจากการเข้าร่วมงานครั้งนี้ และจะสร้างศักยภาพของชุมชนอย่างไรต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความรู้ทั่วไป ที่ควรทราบ th.wikipedia.org/wiki/กระทรวงในประเทศไทย

1. ท่านทราบไหมว่าปัจจุบันประเทศไทยมีกี่กระทรวง ?

ปัจจุบัน ปี 2545-ปัจจุบัน มี 1 สำนักนายกรัฐมนตรี และ 19 กระทรวง (อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/กระทรวงในประเเทศไทย)

2. จำนวนคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน (ชุดอภิสิทธิ์)

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

นักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยชีวิต กับการประยุกต์คณิตศาสตร์

การประยุกต์คณิตศาสตร์เพื่อชีวิตประจำวันกับโครงงาน

นักศึกษาหลายท่านไม่เข้าใจในการประยุกต์ใช้งานคณิตศาสตร์ กับโครงงานตัวเอง ก็ไม่เป็นไรครับค่อยเรียนรู้กันไป อาจารย์มีแนวทางในการที่ให้นักศึกษาได้ลองคิดถึงวิธีการประยุกต์องค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวัน ตลอดจนหน้าที่การงาน ผมให้แนวทางไว้ดังนี้

นักศึกษาลองมองดูว่างานตัวเองที่ทำเป็นงานอะไร
มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานอย่างไร
แล้วเราใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แล้วเรานำข้อมูลนั้นมาทำอย่างไรเพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ของงาน
เมื่อเรารู้วิธีการว่าจะทำอย่างไรกับข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบที่ตั้งไว้
อันนั้นแหละเป็นกระบวนการทำงานทั้งหมดให้บรรลุวัตถุประสงค์
เราก็จะได้ว่า เราจะเอาองค์ความรู้ที่เล่าเรียนมาใช้ตอนไหนได้มั่ง
นักศึกษาลองศึกษาจากภาพประกอบที่แนบมานี้
หากไม่เข้าใจในจุดไหน ก็ลองกลับไปดูที่งานตัวเองสักหนึ่งงาน

ทั้งหมดทั้งมวลนี้เราเรียกว่าการมองภาพองค์รวม
ซึ่งจะทำให้เราวางแผน หรือปฏิบัติงานได้ดี

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

ความคิดดี ๆ กับสิ่งที่ดี ๆ

ความคิดดี ๆ

จากถอยออกมายืนดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ?

คิดแบบคนวิทยาศาสตร์แบบผม
ก็คงต้องค้นหาสาเหตุแห่งการเกิดสิ่งเหล่านี้ต่อไป
ทุกสิ่งมันเกิดจากเหตุ แล้วเกิดผลตามมา แล้วดันไปเป็นต้นเหตุของแต่สิ่งต่าง ๆ ต่อมาเป็นทอด ๆ
ก็เข้าใจได้ว่า มันเป็นวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์
มันคงไม่หยุดแค่นี้ครับ
เพราะมันมีเหตุ มันย่อมเกิดผล แล้วแต่ว่าสังคมจะเลือกเส้นทางในการเดินไปทางไหน
แต่ละคนยอมรับความคิดของบุคคลอื่นได้หรือไม่
สังคมย่อมเป็นสังคม คนที่มีอุดมการณ์ มีความคิดคล้ายกัน ก็จะไปรวมตัวกัน
ส่วนคนที่คิดต่างก็ต้องไปหากลุ่มของตนเอง

แล้วแต่ละกลุ่มจะอยู่รวมกันเป็นประเทศได้อย่างไร ?


ใครจะเป็นผู้ประสานตรงนี้


ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก


ความผิดถูก คน ๆ นั้น เป็นผู้กำหนด หรือว่าสังคมเป็นผู้กำหนด หรือระเบียบกฎเกณฑ์เป็นผู้กำหนด


ฟ้าดินกำหนดไม่ได้ ผู้คนในสังคมต่างหากเป็นผู้กำหนด ระดับที่ตัวเองยอมรับได้

ผู้สร้างกฎ มักเข้าข้างตัวเอง (มองไปย้อนเข้าไปในประวัติศาสตร์(ประวัติศาสตร์หรือนิยายก็ไม่รู้))

อดีตเอาไว้เป็นบทเรียน สอนตัวเอง
ปัจจุบันทำให้ดีที่สุด เพื่อเป็นพื้นฐานของอนาคต
อนาคตจะดีหรือไม่ดี ขึ้นกับปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ปัจจุบันทำให้ดีที่สุดเพื่ออนาคต