วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้วิชาการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตอนที่ 2)

ในตอนที่สองนี้คงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระของการเรียนรู้รายวิชานี้
...มันเป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะกระตุ้นให้นักศึกษา...เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนำกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ มาใช้ในชีวิตประจำวันได้....
...ยิ่งเป็นนักศึกษาในระดับการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ใหญ่...ซึ่งหลายท่านได้มีประสบการณ์ชีวิตที่อาจบอกได้ว่าดีกว่าผม ..... แม้กระทั่งการประสบความสำเร็จในชีวิตจริง ๆ...ก็ดีกว่าผมหลายเท่าตัว...

...พอได้เข้ารับการอบรมจาก ดร.จันทร์ชัย หญิงประยูร ที่โรงแรมแมกซ์ ที่กทม. จากสถาบันแล้ว
...เริ่มจับทางได้...
...น่าจะกระตุ้นความรู้...ที่นักศึกษามีอยู่แล้ว...แล้วเอาชีวิตประจำวันของเขาเป็นตัวตั้ง.....แล้วใส่ความคิดแบบวิทยาศาสตร์ให้กับตัวนักศึกษา ....ให้เขาได้ใช้ประสบการณ์ชีวิตที่มีอยู่มาใช้...ส่วนนักศึกษาที่ยังอายุน้อยอยู่ก็ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้...เพื่อให้เกิดแนวคิดการใช้ชีวิตประจำวันโดยการนำเรื่องวิทยาศาสตร์มาอยู่ในความคิด....
เริ่มกระบวนการเรียน
ก่อนอื่นเราต้องให้ความหมายของคำว่า "การสร้างความตระหนัก" และ "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ให้นักศึกษาได้เข้าใจเสียก่อนว่ามันเป็นอย่างไร

ความหมาย
ความตระหนัก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Awareness" ใช่หรือไม่

การสร้างความตระหนักด้านกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความหมายไว้ว่า "การดำเนินการเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนมีกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ และตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในยุคปัจจุบัน และผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่วนสื่อที่สร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ โทรทัศน์ สื่อInternet หนังสือพิมพ์ นิทรรศการแหล่งเรียนรู้ นิตยสาร และ วิทยุ"

อ้างอิงจาก (http://164.115.5.118/portal/index.php/organization-news/1429-2010-01-28-08-36-36.html)

นอกจากนี้หากเราได้ทราบทิศทางของชาติ ในการนำพาประเทศเข้าไปเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไร เราจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศไปมากน้อยเพียงใด เราจะใช้วิทยาศาสตร์ช่วยชาติอย่างไร ลองเข้าไปอ่านยุทธศาสตร์ชาติ - ทิศทางของไทยในการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดูข่าวจากLink นี้ http://www.ryt9.com/s/prg/63468


วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้วิชาการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตอนก่อนตอนที่ 1)


นักสึกษาได้อ่านแล้วก็ท่าจะงง.... ไม่รู้เหมือนกัน เพราะเป็นตอนที่ก่อนจะเป็นรายวิชาการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ฯ ผมก็เลยตั้งชื่อว่าเป็น "ตอนก่อนตอนที่ 1" ให้มันดูเท่ห์ ๆ

ก็เพราะตอนนี้เป็นตอนก่อนจะเป็นตอนที่ 1 คราวที่แล้วจริง ๆ หันกลับไปดูที่รูป ก็ชัดเจนละว่าเป็นตอนก่อนตอนที่ 1 จริง ๆ มีเนื้อหาครบทุกรายวิชาเลย แต่เน้น เฉพาะที่เป็นคนจัดกระบวนการเรียนรู้เท่านั้น ส่วนรายวิชาอื่นก็อาจมีแค่วัตถุประสงค์รายวิชา และที่เกี่ยวข้องเล็กน้อย

อันนี้จะไม่กล่าวถึงรายวิชาอื่นละนะ นักศึกษาจะต้องบูรณาการเอาเองนะ เพราะถ้าให้ผมวิเคราะห์ดูแล้วในสาขาการจัดการสุขภาพชุมชน นักศึกษาก็น่าจะเอาวิชาการจัดการระบบสุขภาพเป็นแกนหลัก แล้วเอาวิชาอื่นบูรณาการเข้าไปด้วย

อารัมภบท รายวิชา การสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (GE4010) ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มีรายละเอียดของรายวิชาดังนี้

GE4010 การสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มโอกาสแก่ตนเองและชุมชน ให้มีความรู้ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในระดับชุมชน

วัตถุประสงค์

1. นศ. ได้ตระหนักและเข้าใจ ความหมาย แนวทางของการจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชนรูปแบบต่าง ๆ

2. นศ.ทุกสาขาวิชาสามารถเรียนร่วมกัน เกิดความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของวิทยาศษสตร์และเทคโนโลยี

3. นศ.เรียนรู้การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทักณะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถด้านการจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชนของประเทศ

4. นศ.เรียนรู้บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตอบสนองปัญหาของบุคคล ชุมชน และสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์

กิจกรรมรายวิชา

1. บรรยายโดยกรณีศึกษา อภิปรายกลุ่ม การตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. สืบหาแหล่งข้อมูลภายในชุมชน เกี่ยกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. ทัศนศึกษานอกสถานที่และจัดทำรายงาน

4. งานเดี่ยว และกลุ่ม จากการศึกษาประเด็นที่สนใจ จัดทำเป็นรายงาน/โครงงาน นำเสนอในชั้นเรียน

เนื้อหา

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนา

1.1 ความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาในแต่ละระดับ

ความหมายความตระหนัก

ความหมาย

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อชุมชน

ความหมายของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ

ความหมายของวิทยาศาสตร์

ความหมายของวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ

ความหมายของเทคโนโลยี

1.2 สภาพการในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ

ขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทย

Profile ของประเทศ

ทิศทางการพัฒนาประเทศ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1.3 ความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์เละเทคโนโลยีต่อการพัฒนาในแต่ละระดับ (ตนเอง ชุมชน อุตสาหกรรม และประเทศ)

1.4 ตระหนักถึงการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม บนฐานความรู้ ความเข้าใจ จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน

1.5 ทักษะการคิด การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตัวอย่างเครื่องกรองน้ำฉุกเฉิน ม.มหานคร

ตัวอย่างโอทอป

เทคนิคการวัดและการประมาณค่า

การวัด

การประมาณค่า

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การประยุกต์ใช้ฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม

ตัวอย่างข้อมูลจากเว็บไซต์

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน

จริงหรือไม่ กับความเชื่อเหล่านี้ ? วิทยาศาสตร์ช่วยได้

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับพลังงานและภาวะโลกร้อน

2.1 เข้าใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแสวงหาพลังงานและการนำพลังงานไปใช้

2.2 เรียนรู้ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนักในการใช้พลังงาน

2.3 เรียนรู้สาเหตุและผลกระทบของภาวะโลกร้อนในด้านต่าง ๆ

2.4 ตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาการใช้พลังงานเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.1 วิกฤติของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.2 การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของโลก อันเป็นสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์

3.3 ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการป้องกันและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

3.4 การเรียนรู้จากตัวอย่างการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาแก้ไข ป้องกัน และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

4.1 ความเข้าใจและความสำคัญของบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร

4.2 ตระหนักถึงผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ต่อขีดความสามารถในการผลิตและส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทย

5. จัดทัศนศึกษานอกสถานที่ ให้นักศึกษาได้เป็นปัญหาที่แท้จริง เพื่อเกิดสำนึกในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และมีความรับผิดชอบสังคม (ไปศูนย์บริการสาธารณสุขตำบลสุเทพ บูรณาการร่วมกับรายวิชาระบบสุขภาพ)

6 จัดทำรายงาน/โครงงาน ฝึกคิดวิเคราะห์ และจัดทำรายงานโครงงาน

7. นำเสนอชิ้นงาน ประมวลเนื้อหาสาระ

7.1. ให้นักศึกษานำเสนอชิ้นงานตนเอง

7.2. ให้นักศึกษาประมวลเน้อหาสาระ จากประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหมด

.........นี่คือ ความรู้ที่นักศึกษาจะได้รับจากรายวิชานี้....................
...............นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถจุดประกายความคิดทางวิทยาศาสตร์ได้กับททางวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ ได้ คือ ดร.จันทร์ชัย หญิงประยูร ลองติดตามท่านได้ทาง
http://www.curric.net/center/science_forum.htm เว็บไซต์แบ่งปันสานฝัน ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรือ สร้างสื่อสนุกสำหรับเด็กเล็ก กับ ดร.จันทร์ชัย หญิงประยูร.
mail.vcharkarn.com/vcafe/138146

การเรียนรู้วิชาการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตอนที่ 1)

การเรียนรู้เข้าสู่เทอมที่ 2 ของมหาวิทยาลัยชีวิต.....จะเกิดอะไรขึ้น...ชีวิตต้องดำเนินต่อไป....เอาชีวิตตัวเองเป็นที่ตั้งทางการศึกษา...ทำอย่างไรจะเอาวิชาความรู้มาใช้กับชีวิตตนเองให้ดีขึ้น...อาจารย์...ครู...ช่วยเราได้ไหม...ถ้าเราไม่เอาวิชาความรู้ที่ได้รับ....จากครูบาอาจารย์...จากประสบการณ์ชีวิตของเพื่อน..พี่..น้อง...มาประยุกต์ใช้กับชีวิตเรา....แล้วแบบนี้ชีวิตเราจะดีขึ้นไหม...

"คำถามแบบนี้ ข้อสงสัยแบบนี้ วิทยาศาสตร์จะมาช่วยอะไรเราได้ล่ะ...เราจะเอาวิทยาศาสตร์มาช่วยอย่างไร"

นักศึกษาหลายคนน่าจะสงสัยแล้วก็มีคำถามขึ้นมาในใจ ....แบบนี้....

คำตอบคือ "ช่วยได้ครับ"

เราเรียนมาแล้ว...วิชาการวางเป้าหมายและแผนชีวิต...เมื่อเทอมที่แล้วเอามันขึ้นมาใช้ประโยชน์...เอาวิธีคิดแบบวิชากระบวนทัศน์พัฒนา...มาใช้...เอาวิชาภูมิปัญญา..(องค์ความรู้) ที่มีอยู่ทั่วไปทุกคนทุกแห่งในสังคม ชุมชนของเรา...เอาวิธีการคิดแบบเศรษฐกิจพอเพีียงมาประยุกต์.....เอาความรู้ภาษาไทยมาใช้เขียน....

ทำอย่างไรล่ะ....

วิทยาศาสตร์ช่วยท่านได้ คิดแบบวิทยาศาสตร์สิ สังเกตเห็นอะไรในชีวิตล่ะ...ชีวิตมีปัญหาอะไร...อยากพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นทำอย่างไร...ข้อสงสัย...เป็นปัญหาทางวิทยาศาสตร์แล้วล่ะนั่น...ใช้กระบวนกทางวิทยาศาสตร์มาใช้ได้เลย...
เราจะทำอย่างไรดีกับชีวิตนี้...ให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

สังเกต ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5...ทำไมเราเป็นอย่างนี้...มีปัญหาสุขภาพ...เพราะอะไร....
ทำไมเราไม่มีเงิน......มีปัญหาทางเศรษฐกิจ...เพราะอะไร
ทำไมเราฟุ้งซ่าน พูดก็ไม่เพราะ...ครอบครัวไม่มีความสุข.....เพราะอะไร
ทำไมทำอะไรไม่สำเร็จสักที....เพราะอะไร...เราโง่รึ...เราไม่มีความรู้รึ...เราไม่ทำตามสูตรรึ
ทำไมเราต้องซื้ออันนั้นอันนี้...จำเป็นหรือเปล่านี่


รวบรวมข้อมูล....มีหลายคนนี่แก้ปัญหาสุขภาพเหมือนที่เราเป็นด้วยวิธีการต่าง ๆ กันไป....เล้วเราจะเลือกวิธีใครนี่....มีหลายคนเมื่อก่อนก็จน...แล้วทำไมเดี๋ยวนี้เขามีความสุข มีเงิน ดำรงชีวิตมีความสุขได้...มีสังคมดี...มีครอบครัวอบอุ่น..ไม่มีหนี้สิน....มีเวลาไปช่วยสังคมเพื่อนบ้านได้...ไปไหนมาไหนมีแต่คนทักทาย....
เมื่อก่อนบรรพบุรุษเราดำเนินชีวิตอย่างไร เขามีอะไรมั่ง เขากินอะไรมั่ง....ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไรนี่....

สร้างสมมติฐาน จากข้อมูลที่ได้มารวบรวมคิดว่าวิธีการดำเนินชีวิตแบบไหนละจะทำให้เรามีความสุข มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ "เราต้องดำเนินชีวิตแบบนี้.........แล้วเราจะมีความสุข"

ออกแบบการดำเนินชีวิต.และทดลองทำ....สร้างแบบการทดลองดำเนินชีวิต
ลงมีอทดลองตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ ว่าดำเนินชีิวิตแบบนี้แล้วจะมีความสุข

สรุป

แล้วสรุปได้ไหมว่าดำเนินชีวิตแบบไหนทำให้เกิดความสุขทั้งตนเองและคนรอบข้าง

สรุปเป็นวิธีการที่ดีที่สุด...เป็นองค์ความรู้สำหรับเรา...นำไปเผยแพร่ให้เพื่อนได้......

อ้าวนี่ไง ทำแบบวิทยาศาสตร์........................จบแล้ว

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไม่มีคำว่า "แก่"

วันนี้ผมได้รับ e-mail จากเพื่อนคนหนึ่งส่งบทความที่น่าสนใจมาให้อ่าน แล้วบังเอิญ ผมเองได้เป็นอาจารย์ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ในศูนย์ ของมหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มันสอดคล้องกับปรัชญาของสถาบันอย่างมาก มันเป็นอะไรที่น่าสนใจเลยทีเดียว ลองอ่านดูนะครับ
..................................
วันแรกที่พวกเราเริ่มการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น
อาจารย์ของเราได้เข้ามาแนะนำตัว
และบอกให้พวกเราทำความรู้จักกับคนอื่นๆ
ที่เราไม่รู้จักมาก่อน
ผมยืนขึ้นแล้วมองไปรอบๆ
และมีมือๆ หนึ่ง เอื้อมมาจับบ่าของผม
ผมหันไปพบกับหญิงชราร่างเล็ก ผิวหนังเหี่ยวย่น
ที่ส่งรอยยิ้มอันเป็นประกายมาให้ผม
รอยยิ้มนั้นทำให้เธอดูสดใสอย่างยิ่ง

หญิงชราคนนั้นกล่าวขึ้นว่า
“สวัสดี รูปหล่อ ฉันชื่อโรส
อายุแปดสิบเจ็ดแล้ว มาให้ฉันกอดสักทีสิ”

ผมหัวเราะกับท่าทางของเธอ
และตอบอย่างร่าเริงว่า
“แน่นอน ได้สิครับ ”
แล้วเธอก็กอดผมอย่างแรง
ผมถามเธอว่า
“ทำไมคุณถึงมาเรียนมหาวิทยาลัย
เอาตอนที่อายุน้อยและไร้เดียงสาอย่างนี้ละ.. ”

เธอตอบด้วยเสียงปนหัวเราะว่า
“ฉันมาหาสามีรวยๆ ที่ฉันจะได้แต่งงานด้วย
แล้วมีลูกสักสองสามคน... ”
ผมขัดจังหวะเธอ โดยถามว่า
“ไม่เอาครับ.. ถามจริงๆ ”
ผมสงสัยจริงๆ ว่า อะไรทำให้เธอมาเรียนที่นี่
ตอนที่อายุขนาดนี้ และเธอตอบว่า
“ฉันฝันมานานแล้ว ว่าฉันจะได้ปริญญา
และตอนนี้ ฉันก็กำลังจะได้ปริญญาที่ฉันฝัน”
หลังเลิกเรียนวิชานั้น
เราเดินไปที่อาคารสโมสรนักศึกษาด้วยกัน
และนั่งกินชอคโกแลตปั่นด้วยกัน
เรากลายเป็นเพื่อนกันในทันที
ตลอดสามเดือนหลังจากนั้น
เราจะออกจากชั้นเรียนพร้อมกัน
และจะไปนั่งคุยกันไม่หยุด
ผมนั้นประหลาดใจเสมอเมื่อได้ฟัง“ยานเวลา" ลำนี้
แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ของเธอให้กับผม

ตลอดปีนั้น โรสได้กลายเป็นสัญลักษณ์
ของมหาวิทยาลัยของเรา
และเธอนั้นจะเป็นเพื่อนได้กับทุกคน
ในทุกที่ที่เธอไป เธอรักที่จะแต่งตัวดีๆ
และดื่มด่ำอยู่กับความสนใจ
ที่นักศึกษาคนอื่นๆ มีให้กับเธอ
เธอได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่
เมื่อถึงตอนสิ้นสุดภาคการศึกษา
เราได้เชิญโรสให้มาพูดที่งานเลี้ยงของทีมฟุตบอลของเรา
ผมไม่เคยลืมเลยว่า เธอได้สอนอะไรให้กับเรา ...
พิธีกรแนะนำตัวเธอ และเธอก็เดินขึ้นมาที่แท่น

ตอนที่เธอกำลังเตรียมตัวที่จะพูดตามที่เธอตั้งใจนั้น
เธอทำการ์ดที่บันทึกเรื่องที่เธอจะพูดตกพื้น
เธอทั้งอาย ทั้งประหม่า
แต่เธอโน้มตัวเข้าหาไมโครโฟนแล้วบอกว่า
“ขอโทษด้วยนะ ที่ฉันซุ่มซ่าม
ฉันเลิกกินเบียร์มาตั้งนานแล้ว
แต่วิสกี้พวกนี้มันแรงจริงๆ...
ฉันคงจะเอาบทของฉันมาเรียงใหม่ไม่ทันแล้ว
งั้นฉันก็คงได้แค่บอกเรื่องที่ฉันรู้ให้กับพวกคุณก็แล้วกัน”

พวกเราทุกคนหัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง
ตอนที่เธอเริ่มต้นว่า
“พวกเราทุกคนนั้น ไม่ได้หยุดเล่นเพราะเราแก่หรอก
แต่เราแก่เพราะว่าเราหยุดเล่น
ที่จริงแล้วมีเคล็ดลับสู่การที่จะยังหนุ่มสาวอยู่เสมอ
มีความสุข และประสบความสำเร็จอยู่ 4 ประการ

1) พวกคุณจะต้องหัวเราะ และมีเรื่องสนุกๆ ขำขันทุกวัน

2) พวกคุณจะต้องมีความฝัน เมื่อไรก็ตามที่คุณสูญเสีย ความฝันของคุณไป คุณจะตาย มีคนมากมายที่ยังเดินไป เดินมาอยู่ทั้งๆ ที่ตายไปแล้วและไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตายไปแล้ว..

3) การที่คุณ “แก่ขึ้น” กับ “เติบโตขึ้น” นั้น
มันต่างกันมาก ถ้าคุณอายุสิบเก้า
แล้วนอนอยู่บนเตียงเฉยๆ ปีหนึ่ง
และไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ตลอดทั้งปี
คุณก็จะอายุยี่สิบ

ถ้าฉันอายุแปดสิบเจ็ด แล้วนอนเฉยๆ
ไม่ทำอะไรเลยตลอดทั้งปี ฉันก็จะอายุ
แปดสิบแปด ทุกๆ คนนั้นจะแก่ขึ้น ทั้งนั้น
ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถอะไรเลย
ประเด็นของการ เติบโตขึ้น นั้น
อยู่ที่การแสวงหาโอกาสในการเปลี่ยนแปลง

4) อย่าทิ้งอะไรไว้ให้เสียใจภายหลัง
คนสูงอายุส่วนใหญ่นั้น ไม่เสียใจกับสิ่งที่ได้ทำลงไปแล้ว
แต่มักจะเสียใจกับสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ คนที่กลัวความตายนั้น
มีแต่คนที่ยังมีสิ่งทีต้องเสียใจค้างอยู่ "

เธอจบการพูดของ เธอด้วยการร้องเพลง “The Rose” อย่างกล้าหาญ และเธอได้แนะให้พวกเราทุกคนศึกษาเนื้อร้องของเพลงนั้นและเอาความหมายเหล่านั้นมา ใช้กับชีวิตประจำวันของพวกเรา

เมื่อสิ้นปีการศึกษานั้น โรสได้รับปริญญาที่เธอได้เริ่มฝันไว้เมื่อนานมาแล้ว

หนึ่งสัปดาห์หลังจบการศึกษา โรสจากไปอย่างสงบ
เธอนอนหลับไปและไม่ตื่นขึ้นอีกเลย

นักศึกษากว่าสองพันคนไปร่วมพิธีศพของเธอ เพื่อแสดงความเคารพ ต่อหญิงชราผู้วิเศษ ผู้ได้สอนให้พวกเขาได้รู้ ด้วยการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า.......

ไม่มีคำว่าสายเกินไป ที่จะเป็นทุกสิ่งที่คุณสามารถเป็นได้

เมื่อคุณอ่านเรื่องนี้จบลง กรุณาส่ง คำแนะนำอันดีเยี่ยมนี้ต่อให้กับเพื่อนและครอบครัวของคุณ พวกเขาคงจะชอบมัน

เรื่องราวเหล่านี้ส่งต่อกันมาเพื่อระลึกถึงหญิงชราที่ชื่อ โรส
จงจำไว้ว่า

"การแก่ขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่การเติบโตขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เราเลือกได้
เราอยู่ได้ด้วยสิ่งที่เราได้รับ แต่เราจะมีชีวิตอยู่เพราะสิ่งที่เราให้ไป"
.............................................

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ค้นหารากเหง้า ว่าด้วยเรื่องศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่


ในช่วงภาคฤดูร้อนที่ผ่านมาได้มีโอกาสเป็นวิทยากรจัดกระบวนการเรียนรู้ วิชาการวางเป้าหมายและแผนชีวิต ในโครงการอบรมสัมฤทธิบัตร ของมหาวิทยาลัยชีวิตศูนย์การเรียนรู้เพื่อปวงชน ไม่น่าเชื่อว่าวิชานี้จะช่วยสอนให้ คนเราสามารถนำกระบวนการในเชิงการบริหารจัดการระดับองค์กรใหญ่ ย่อส่วนมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างน่าทึ่ง นักศึกษาหลายคนที่ในช่วงแรกๆ ของการเรียนไม่ได้สนใจ เข้าอบรมไปวัน ๆ เท่านั้น สั่งให้ทำรายงานก็ให้ทำ พอภายหลังจากการจัดทำรายงานวิเคราะห์เล่มฉบับสมบูรณ์ หลายคนบอกว่าจะนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น หลายคนบอกว่า ไม่เคยรู้วิธีการไปสู่เป้าหมายตนเองได้อย่างไร หลายคน บอกเพียงแค่อยากเรียนจบมหาวิทยาลััยเท่านั้น แต่ภายหลังจากได้เรียนรู้กระบวนวิชานี้แล้ว ทำอะไรเป็นเยอะขึ้น รู้จักจัดการชีวิตตนเองให้มีความสุขได้มากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ก็ดีใจกับนักศึกษาด้วยที่ได้นำความรู้ไปใช้ แต่สิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือการจัดกระบวนการเรียนรู้หรอก แต่ก็มีที่มาที่ไปจากการได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในวิชานี้ นั่นคือ "ศาลพระภูมิ" และ "ศาลเจ้าที่"
ความรู้เกี่ยวการสร้างศาลพระภูมิ หรือ ศาลเจ้าที่ ลองอ่่านในเว็บบล็อกลุงแว่นนะครับ (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skit&month=04-08-2008&group=2&gblog=19) ได้ความรู้พอสมควรในเรื่องการสร้างศาลพระภูมิ หรือ ศาลเจ้าที่ แต่ที่ผมเขียนนี้ มิได้ว่าผู้ใดผิดผู้ใดถูก แต่เขียนในเชิงของการพิจารณาจากรากเหง้าความคิดของคนสมัยก่อนที่มีเรื่องศาลพระภูมิ เจ้าที่ ทั้ง ๆ ที่ประเทศเราเป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ เป็นส่วนใหญ่ เป็นศาสนาที่เป็นเป็นอเทวนิยม
เมื่อศึกษาในเรื่องการนับถือเกี่ยวกับผี จากการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่่า "ผี" ในเชิงมนุษยวิทยาถือว่าผีเป็นความหมายในเชิงของกฎ ระเบียบ จารีตประเพณี วิถีปฏิบัติของชุมชน สังคม ซึ่งมิได้มีความหมายในเชิงของวิญญาณเลย ดังที่เราจะเห็นได้จากคำว่า "ผิดผี" ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติที่ละเมิด กฎ ระเบียบ จารีตประเพณี ซึ่งเมื่อเรามองย้อนกลับไปยังวิธีคิดดั้งเดิมของคนไทย ที่ยังมิได้มีส่วนสัมพันธ์กับการนับถื่อในศาสนาพราหมณ์ เราจะพบว่าเป็น วิถีคิดแบบดั้งเดิมของคนไทยให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามระเบียบในสังคม
สำหรับในเรื่อง "ที่" ก็เช่นเดียวกัน ก็คงเกี่ยวข้องกับ "เจ้าที่" ดิน น้ำ ลม แดด และธรรมชาติ ล้วนเกี่่ยวข้องอยู่ด้วยกันอย่างสมดุล จึงจะถือได้ลงตัวอยู่ด้วยกันได้ แต่หากไม่เกิดความสมดุลย่อมอยู่ด้วยกันไม่ได้ ดังเช่นที่เราได้เห็นได้ทราบจากข่าวในปัจจุบันนี้เช่นกัน มนุษย์ได้ทำลายความสมดุลของสรรพสิ่ง จึงทำให้เกิดเหตุ ภัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นการปรับสมดุลของสรรพสิ่งที่อยู่ร่วมกัน ดังนั้นจากฐานความคิดของคนในสมัยโบราณ กรณีการสร้างบ้านเรือน สร้างสถานที่ใด ๆ จึงมักมีการปรึกษาหารือ กับปราชญ์ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้มีญาณเล็งเห็นความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งรอบตัว ให้ช่่วยตรวจดูความเหมาะสม ซึ่งหากคิดในเชิงเหตุผลในปัจจุบันคือ เป็นสถานที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ต่อการอาจเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังเราจะเห็นในเรื่องของข้อห้ามต่าง ๆ ของศาสตร์ ทั้งไทย จีน (ฮวงจุ้ย) ดังนั้นการเลือกที่ที่มีชัยภูมิ หรือที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างบ้านเรื่อนที่อยู่อาศัย จึงเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ การเลือกสถานที่ที่ไม่ผิดที่ผิดทาง ย่อมทำให้คนที่อยู่อาศัยมีความสุขได้
ดังนั้นในแต่ละที่ แต่ละชัยภูมิ จึงมักมีเจ้าที่ หรือพระภูมิคอยปกปักรักษา ในลักษณะความเชื่อว่าจะทำให้คนที่อยู่อาศัยในสถานที่เหล่านั้นมีความสุข คนโบราณจึงมักอยู่ในสถานที่แต่ละแห่งด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพในสถานที่
จากฐานความคิดของคนโบราณจึงทำให้เห็นได้ว่า ความเชื่่อเหล่านี้มีที่มาที่ไป มิได้งมงายอย่างที่คิด
ดังนั้นหากเรามีความเข้าใจ เคารพในสถานที่ที่ตนเองอาศััยอยู่ ทำงานอยู่ มีการสร้างศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ เป็นที่ยึดเหนี่ยวย่อมทำให้ผู้อยู่อาศััยมีความสุขในการได้อยู่อาศัย
อ้างอิง : รูปภาพจาก http://xn--42c5cgeicjx9eqhbw2e.blogspot.com/2011_04_01_archive.html
เอกสารประกอบการเรียนวิชาการวางเป้าหมายและแผนชีวิต โครงการอบรมสัมฤทธิบัตร มหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มกราคม 2554

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาของการเป็นวิทยากร งานกิจกรรมชุมชน

จากหัวข้อทีผ่านมา "การสร้างศักยภาพชุมชน" เราในฐานที่เป็นทีมงานวิทยากร ก็ต้องขอเล่าเรื่อง ของการเตรียมการเพื่อเป็นวิทยากรงานนี้ ซึ่งเราได้รับงานด่วนมาก ทุกคนไม่ได้ประสานงานกันเลย เพียงแต่ได้รับหัวข้อจากผู้บริหาร ให้หากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาให้กับชุมชน ผมก็ไม่ได้รู้จักทีมงานที่ทางฝ่ายบริหารรวบรวมมาเลย เพราะต่างฝ่ายต่างมา แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจว่าเขามากันยังไงบ้าง ผมเองมางานนี้ในฐานะของอาจารย์ที่สอนมหาวิทยาลัยชีวิต ซึ่งทาง ผอ. ศูนย์สุเทพ ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากนัก ก็เจอกันวันก่อนวันงานวันเดียว ก็ได้ยินทางหัวหน้าทีมงาน (ได้ยินทางฝ่ายจัดงานเรียก อาจารย์ลพ) ผมก็ไม่รู้ว่าท่านจะทำอะไร ก็ได้แต่แจกหัวข้อมาให้เท่านั้น พร้อมทีมงานอีก 1 คน ซึ่งเป็นน้องจากบัณฑิตวิทยาลััย ก็ไม่ได้เตรียมการอะไรกันเลย ก็เป็นหน้าที่เราที่เป็นหัวหน้าทีมต้องหาเกมส์ สำหรับการละเล่น ในฐานะวิทยากร และหัวหน้าฐาน

ในวันถัดมาหลังจากประชุมทีมงานแล้วเราก็เริ่มหาเกมส์ ก็ดีนะที่ไม่เอาเกมส์จากที่ทางทีมงานลูกน้องในที่ทำงานหามาให้ เพราะมาเห็นวันที่เขาใช้งานกัน เป็นงานที่พวกลูกน้องเราเตรียมไว้ให้หมดเลย ไม่ว่าจะเป็นเกมส์นำแย้ลงรู เกมส์ปิดตานำทาง ไม่รู้จะทำอะไร ดี เอาละ ก็คิดเองละกัน ว่าทำยังไง เกมส์สำหรับกลุ่มสัมพันธ์ ตอนแรกกะว่าเอากล่องกระดาษก่อให้ได้สูงสุด แต่เกรงว่าจะหาอุปกรณ์ยาก และเยอะไป ก็เลยแว๊บไปเห็นแก้วน้ำ พลาสติก แก้วกาแฟ บ้าง ก็เลยมีไอเดียว่าเอาแก้วนี่แหละว่าะ ให้เขาต่อให้สูง ผ่านอุปสรรคต่าง ๆ หากได้พัดลมเป่าด้วยยิ่งดี ก็ให้น้องทีมงานที่เป็นผู้ช่วยหาแก้วขนาดต่าง ๆ กัน จำนวน 30 ใบ ไว้ให้กลุ่มสัมพันธ์เล่นเกมส์ต่อแก้วให้ได้สูงสุด ก็พบว่า ต้องใช้อุปกรณ์เสริม เพราะว่าเขาดันจัดฐานให้อยู่กลางสนามในวันเล่นเกมส์ ก็เลยมีแผ่นกระดาษให้ อีก 1 แผ่น แต่ก็เป็นไปโดยบังเอิญ เพราะว่า ยกหีบน้ำไปเป็นอุปกรณ์เสริม ก็พบว่า มีกระดาษแข็งอยู่แผ่นหนึ่ง จึงเอาให้ผู้เล่นได้เป็นอุปกรณ์เสริม

จากผลการนำเกมส์นี้ให้กับทางกลุ่มเล่น เราพบว่า ทำให้ได้อะไรหลายอย่างที่ชุมชนต้องมีข้อคิดมากมายหลายอย่าง ทั้งเรื่องการวางแผน การแสดงความเห็น การช่วยกันตามความสามารถ หากขาดการประสานงานหรือการวางแผนที่ดี ภายในเวลาที่กำหนด คือ 15 นาที ซึ่งก็มีข้อคอมเม้นท์จากการสังเกตการเล่นเกมส์ ของแต่ละกลุ่มดังนี้
1. กลุ่มที่ 8 คือกลุ่มที่อยู่ฐานเราเป็นฐานแรก มีพฤติกรรมดังนี้ ขาดการร่วมไม้ร่วมมือ ให้เฉพาะผู้นำกลุ่มดำเนินการอย่างเดียว ทำให้ต่อได้สูงสุดเพียง 105 ซม. เท่านั้น
2. กลุ่มถัดมาคือ กลุ่ม 7 กลุ่มนี้มีความสามัคคีกันดีมาก มีส่วนร่วมทุกคน แต่มีปัญหาด้านการนำและการวางแผนที่มุ่งเน้นแผนเดิม ไม่มีทางเลือก ทำได้ 123 ซม.
3. กลุ่ม 6 เป็นกลุ่มที่มีหลากหลายมาก บางคนก็ไม่มีส่วนร่่วม แต่คนที่มีส่วนร่วมค่อนข้างแข็งขัน ให้ความเห็นทำงานร่วมกันหลากหลาย มีแนวทางไปสู่เป้าหมายได้หลายวิธี ไมสนใจว่าจะเป็นวิธีไหน ขอให้ไปสู่เป้าหมายอย่างเดีียว และก็ทำได้สูงสุด 175 ซม.
4. กลุ่ม 5 เป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วม แต่มีข้อเสียกิจกรรมกลุ่มที่กูลากไป มึงลากมา ไม่ไปข้างหน้า ขาดการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว ทำให้ใช้เวลาไปมาก เลยได้เพียง 97 ซม.
5. กลุ่ม 4 เป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมกันค่อนข้างดี ก็คล้าย ๆ กับกลุ่ม 7 ทำได้117 ซม.
6. กลุ่ม 3 เป็นกลุ่มที่ต้องชมเชยที่มีภาวะการนำของผู้นำดี สามารถนำคนในกลุ่มเข้าร่วมงานได้ทุกคน ทำความสูงได้ 150 ซม.
7. กลุ่ม 2 เป็นกลุ่มที่มีการมีส่วนร่วมของกลุ่มทุกคนสูงมาก แต่มัวแต่เถียงกัน ความคิดไม่ตกผลึก คล้ายกับกลุ่ม 4 แต่ทำงานได้ดี ก็ทำได้แค่ 118 ซม.
8. กลุ่มสุดท้าย กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มที่มีทีมบางส่วนขาดการมีส่วนร่วมสิ้นเชิง แต่ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วม ลักษณะคล้าย ๆ กลุ่มที่ 8 ทำได้ 137 ซม.

ข้อคิดจากการทำฐานครั้งนี้สรุปได้ "การนำต้องดี การแก้ปัญหาต้องมีหลายทางเลือก การทำงานต้องมีส่วนร่วม เดินไปสู่เป้าหมาย ควบคุมเวลาและการทำงานให้ทันด้วย" แล้วจะประสบผลสำเร็จในที่สุุด

อันนั้นเป็นเรื่องเล่าจากฐานผมเอง ต้องขอขอบคุณน้องทีมงานจากบัณฑิตวิทยาลัย น้องอะไร...จำไม่ได้

ทีนี้มามุมมองจากการจัดฐานของท่านอาจารย์ลพ เราพบว่า ท่านคิดได้ดีมากในเชิงวิชาการ
1. การบริหารท้องถิ่นกับการประสานงาน จุดประสงค์ ให้ชุมชนได้รู้ว่าองค์กรท้องถิ่นทำงานกันอย่างไร
2. ทำงานอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ ก็เน้นการทำงานกลุ่มให้สำเร็จ
3. การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ก็เน้นการมีส่วนร่วมของทีมงาน
4. การสร้างความสามัคคีในชุมชน ฐานนี้เน้นเลยคือความสามัคคีสู่ความสำเร็จ
5. ฐานการติดต่อสื่อสาร ก็เน้นเรื่องการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในทีม
6. ฐานบทบาทผู้นำ ผู้ตาม ก็เน้นในเรื่องบทบาทของแต่ละคนในทีม
7. การสร้างความพร้อมของชุมชน อันนี้ก็เน้นเรื่องความพร้อมเพรียง
8. ปัญหาและการแก้ปัญหา ก็เป็นฐานรวบยอดที่นำเอาเรื่องจาก 1-7 มาไว้ฐานนี้

จะเห็นว่ามุมมองจากนักกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ สามารถมองประเด็นของกลุ่มสัมพันธ์นำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพชุมชนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งนำเอาวิชาการที่อยู่ในตำรามาจำลองสู่ระบบฐานในการปฏิบัติได้อย้่างเป็นรูปธรรม น่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง
บอกตรง ๆ ว่ากว่าผมจะเข้าใจความคิด อาจารย์ลพ ในการจัดฐานเหล่านี้ก็เอาตอนที่จัดงานฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว นี่ก็เป็นข้อเสียของการสื่อสาร ซึ่งทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพในความต่อเนื่องของเกมส์ ที่เล่นตามฐานของทีมงานวิทยากร แต่เมื่อทำกันได้เท่านี้ผมก็โอเคนะครับ

แต่สิ่งหนึ่งที่อยากฝากให้นักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิตและผู้ที่สนใจ ลองคิดตามในเรื่องทั้งกระบวนการตั้งแต่การพามวลชนออกจากเทศบาล ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองเขา ซึ่งเมื่องทางฝ่ายบริหารเทศบาลมอบหมายให้ นักศึกษาเราช่่วยงาน ก็ทำให้ได้เรียนรู้จากการทำงานร่วมกับชุมชนได้อย่างดีทีเดียว และอีกอย่างกระบวนการเรียนรู้ในสาขาของเรา คือ สาขาสุขภาพชุมชน นักศึกษาที่เข้าร่วมงานนี้เข้าใจว่าได้ประสบการณ์ที่จะทำให้การปฏิบัติกิจกรรมในการเรียนการสอนต่อไปในหลักสูตร มหาวิทยาลัยชีวิต น่าจะไปได้ดีทีเดียว ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมลองถามเพื่อน ๆ ดูนะครับ น่าสนใจทีเดียว

ก็ขอถอดองค์ความรู้แบบสั้น ๆ จากการทำงานในครั้งนี้ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ว่าด้วยค่าย การสร้างศักยภาพชุมชน

ว่าด้วย การสร้างศักยภาพชุมชน
วันที่ 18-19 กันยายน 2553 ผมมีโอกาสได้เป็นวิทยากรร่วม ในการจัดค่ายการสร้างศักยภาพของชุมชน ของเทศบาลตำบลสุเทพ ในนามของมหาวิทยาลัยชีวิต ศูนย์สุเทพ นับเป็นประสบการณ์หนึ่งที่เราได้นำนักศึกษาของเราเข้าสู่การทำงานร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องภายใต้การนำของ ผอ.ศุภลักษณ์ ล้อมลาย ดีใจที่เห็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่าง เทศบาลตำบลสุเทพ ไว้วางใจให้นักศึกษาเราทั้งเป็นวิทยากรพี่เลี้ยง วิทยากรผู้ช่วย และอาจารย์บางส่่วนเข้าเป็นวิทยากร ว่าไปแล้วการนำนักศึกษาเข้าร่วมในลักษณะนี้ ได้ประสบการณ์มากกว่่าการนั่งเรียนในห้องเรียนที่ฟังแต่อาจารย์เล่าให้ฟังเท่านั้น เราเห็นนักศึกษาเรากระตือรือร้น ในการทำงาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมบอกนักศึกษาไป คือ การจบจากค่ายแล้ว ทุกคนต้องถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมดำเนินการครั้งนี้
สิ่งหนึ่งที่ทางฝ่ายบริหารเทศบาลตำบลสุเทพ เห็นศักยภาพของนักศึกษาของเรา เท่าที่ได้สอบถามจากผู้บริหาร พบว่า ประทับใจการทำงานของนักศึกษาชุดนี้ จากการเข้าร่วมทำงานชุมชน ในการนำเสนอโครงการเกี่ยวกับสุขภาพ ต่อ สปสช. และ สสส. ในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งของเด็ก และคนในชุมชน ซึ่งสามารถทำงานผ่านไปได้ด้วยดี จึงได้ให้ความไว้วางใจทีมงานของนักศึกษาเข้าดำเนินกิจกรรม
สำหรับวันนี้คงเล่าเท่านี้ก่อน เดี๋ยวจะกลับมาว่ากันต่ออีกทีหนึ่ง ภายหลังจากหารือกับทาง ผอ. ศูนย์ก่อน ว่่าจะถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมครั้งนี้ก่อน แล้วจะจัดทำเป็นองค์ความรู้ให้กับศูนย์ แล้วค่อยเล่าว่า ในแนวทางการดำเนินการนักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิต แล้วเขาได้อะไรจากการเข้าร่วมงานครั้งนี้ และจะสร้างศักยภาพของชุมชนอย่างไรต่อไป